เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม : ภาษาพูดมีผลต่อการออมเงิน จริงหรือไม่ ?

นักเศรษฐศาสตร์จะเรียนรู้อะไรจากนักภาษาศาสตร์ได้บ้าง คีธ เชน นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม แนะนำแบบแผนที่น่าสนใจจากงานวิจัยที่ว่า ภาษาที่ไม่มีแนวคิดเรื่องการบอกกาลอนาคตที่พูดว่า ฝนตกพรุ่งนี้ "It rain tomorrow," แทนที่พูดว่า ฝนจะตกวันพรุ่งนี้ "It will rain tomorrow" มีความเกี่ยวข้องกับอัตราการออมที่สูง 


วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกทำให้สังคมสนใจ ในสิ่งที่จริงๆ แล้ว เป็นคำถามเก่าแก่คำถามนึงในเรื่องเศรษฐกิจ ที่ย้อนกลับไปได้ไกลกว่าอดัม สมิธด้วยซ้ำ นั่นคือ ทำไมประเทศที่เหมือนจะมีระบบเศรษฐกิจ และสถาบันต่างๆเหมือนกัน ถึงมีความแตกต่างด้านการออมเงินได้มากขนาดนี้ 

นักเศรษฐศาสตร์ฝีมือดีหลายคน ใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อหาคำตอบ และในฐานะเป็นสาขานึง เราคืบหน้าไปมากทีเดียว เราเข้าใจมันมากขึ้น วันนี้ผมจะมาพูดเรื่องข้อสันนิษฐานใหม่ที่น่าทึ่ง และการค้นพบที่น่าประหลาดใจที่ผมกำลังทำอยู่ เกี่ยวกับจุดเชื่อมโยง ระหว่างโครงสร้างของภาษาที่คุณพูด กับแนวโน้มที่คุณจะออมเงิน 

ก่อนอื่นขอเกริ่นเรื่องอัตรการออมกับเรื่องภาษาก่อน แล้วผมจะแสดงให้เห็นว่าเกี่ยวกันตรงไหนขอให้เราเริ่มด้วยการดูประเทศสมาชิก ของกลุ่มโออีซีดี (OECD) ย่อมาจากองค์การเพื่อความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ประเทศในกลุ่มโออีซีดี ก็เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มประเทศที่ร่ำรวย และมีความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมมากที่สุดในโลก และเมื่อเข้าร่วมโออีซีดี ประเทศเหล่านี้ก็ปวารณาตน ว่าจะเป็นประชาธิปไตย เปิดตลาด ให้มีการค้าเสรี ถึงแม้ข้อพวกนี้จะเหมือนกัน จะเห็นได้ว่าเรื่องการออมน่ะ ต่างกันมาก 

เห็นที่ทางซ้ายสุดของกราฟไหมครับ จะเห็นว่าหลายประเทศในโออีซีดีออม มากกว่า 1 ส่วน 4 ของจีดีพีทุกปีและบางประเทศออมมากกว่า 1 ใน 3 ของจีดีพีทุกปี แต่ทางมองไปที่ด้านขวาสุดของกราฟ คือ ประเทศกรีซ จะเห็นได้ว่าตลอด 25 ปีที่่ผ่านมา กรีซแทบจะออมได้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี น่าสังเกตไว้นะครับว่า ถัดจากกรีซมานี่คือ สหรัฐฯกับสหราชอาณาจักรนี่เอง เราเห็นได้ว่ามีความแตกต่างอย่างมากในเรื่องการออม แล้วเป็นไปได้ยังไงที่ภาษา มีส่วนเกี่ยวข้องกับความแตกต่างนี้ 

ขอผมพูดซะหน่อยเกี่ยวกับหลักข้อแตกต่างของภาษา นักภาษาศาสตร์และนักประชานศาสตร์ พยายามหาคำตอบมาหลายปีแล้วเดี๋ยวผมจะเชื่อมโยงความเกี่ยวข้องระหว่างสองอย่างนี้ พวกคุณหลายๆคนอาจจะรู้แล้วนะครับว่าผมเป็นคนจีน ผมโตมาที่มิดเวสต์ในสหรัฐฯนี่แหละครับ และสิ่งที่ผมสังเกตตั้งแต่เด็กๆแล้วก็คือ ภาษาจีนบังคับให้ผมพูดเรื่อง... แล้วก็บอกพื้นมากกว่า... ค่อนข้างจะบังคับ ให้ผมคิดเรื่องครอบครัวในแบบที่แตกต่างกัน เป็นยังไงน่ะหรือครับ ขอผมยกตัวอย่างนะสมมติผมพูดกับคุณแล้วก็แนะนำให้รู้จักญาติ คุณเข้าใจทันทีว่าผมเพิ่งพูดอะไรไปในภาษาอังกฤษ แต่สมมติว่าผมพูดจีนกลางกับคุณน่ะสิ ผมทำแบบเดียวกันไม่ได้ ผมจะไม่สามารถบอกข้อมูลแค่นั้นได้ ภาษาของผมบังคับให้ แทนที่จะบอกคุณแค่ว่า นี่คือลุงของผม ต้องบอกข้อมูลยิบย่อยให้คุณรู้อีกมากมาย ภาษาจีนจะบังคับให้ผมบอกคุณ ว่าญาติผมคนนี้เป็นลุงฝั่งพ่อหรือลุงฝั่งแม่ ว่าเป็นลุงเพราะแต่งงานเข้ามาหรือเป็นลุงแท้ๆ ว่าถ้าเป็นญาติฝั่งพ่อ ตกลงแล้วเป็นลุงหรือเป็นอา ข้อมูลพวกนี้ต้องมี ภาษาจีนไม่ยอมให้ผมไม่บอกคุณและในที่จริง ถ้าผมอยากจะพูดให้ถูก ภาษาจีนบังคับให้ผมต้องคิดตลอดเวลา และนั่นทำให้ผมประหลาดใจอยู่เสมอตอนเป็นเด็ก 

แต่สิ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจยิ่งขึ้นไปอีกทุกวันนี้ ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ คือข้อแตกต่างพวกนี้ก็ปรากฏอยู่ เวลาพูดเรื่องเวลาเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผมพูดภาษาอังกฤษ แล้วอยากจะพูดให้ถูกไวยากรณ์ ถ้าจะพูดเรื่องฝนที่ตกไปแล้ว ก็เป็น "It rained yesterday," ฝนตกตอนนี้ "It is raining now," หรือฝนที่จะตกพรุ่งนี้ "It will rain tomorrow." 

สังเกตนะว่า ภาษาอังกฤษ บังคับให้มีข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องเวลาที่เกิดขึ้น ทำไมหรือ เพราะว่าผมต้องคิด และต้องเปลี่ยนว่าผมจะพูดว่าอะไร "It will rain," หรือ "It's going to rain." ในภาษาอังกฤษ ผมพูดไม่ได้ว่า "It rain tomorrow."แตกต่างกับจีนโดยสิ้นเชิง เพราะภาษาจีนเราพูดแบบนั้นแหละ คนพูดจีนสามารถพูดสิ่งที่ฟังดูแปลกมากสำหรับคนพูดภาษาอังกฤษ พวกเขาพูดได้ว่า "Yesterday it rain," "Now it rain," "Tomorrow it rain." ในแง่นี้ ภาษาจีนไม่ได้แยกเรื่องเวลา ในแบบเดียวกับที่ภาษาอังกฤษบังคับให้เราทำตลอด เพื่อให้พูดถูกต้อง นี่คือความแตกต่างของภาษา 

มีเฉพาะแค่ภาษาที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยอย่าง ภาษาจีนกับอังกฤษหรือเปล่า จริงๆ แล้ว เปล่าครับ หลายๆ คนในห้องนี้คงรู้ว่าภาษาอังกฤษ เป็นภาษาตระกูลเจอมานิก ที่คุณอาจจะไม่ทราบก็คือ ภาษาอังกฤษไม่เหมือนชาวบ้าน มันเป็นภาษาเดียวในตระกูลเจอมานิกที่มีข้อบังคับนี้ ตัวอย่างเช่น คนพูดภาษาในตระกูลนี้ภาษาอื่น ไม่รู้สึกอะไรเลยกับการพูดเรื่องฝนตกพรุ่งนี้ โดยพูดว่า "Morgen regnet es," แปลตรงกับภาษาอังกฤษว่า "It rain tomorrow." นี่ทำให้ผมในฐานะนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม สรุปข้อสันนิษฐานที่น่าทึ่ง เป็นไปได้ไหมที่วิธีการพูดเรื่องเวลา การที่ภาษาบังคับให้เราคิดเรื่องเวลา ส่งผลต่อพฤติกรรมทั่วช่วงเวลา คุณพูดอังกฤษ ภาษาที่มีกาล แปลว่าทุกครั้งที่พูดถึงอนาคต หรือเหตุการณ์ในอนาคต ไวยากรณ์บังคับให้คุณแยกมันออกจากปัจจุบัน และทำเหมือนมันเป็นสิ่งที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ลองสมมติว่าการทำแบบนั้นว่ามันต่างกัน ส่งผลให้คุณตัดขาดอนาคต ออกจากปัจจุบันทุกครั้งที่พูด ถ้านั่นเป็นความจริงและทำให้อนาคตดูเป็น สิ่งที่แตกต่างและห่างไกลจากปัจจุบัน นั่นทำให้การออมเป็นเรื่องยากขึ้น 

อีกแง่หนึ่ง ถ้าพูดภาษาที่ไม่มีกาล บอกเวลาต่างๆ คุณพูดถึงมันเหมือนกัน ถ้าทำแบบนี้แล้วมันส่งนัยให้รู้สึกเหมือนกันการออมก็จะง่ายขึ้น โอเค เป็นทฤษฎีที่ฟังดูล้ำมาก แต่ผมเป็นศาสตราจารย์ ผมได้เงินจากการคิดทฤษฎีล้ำๆ แต่เราจะทดสอบทฤษฎีแบบนี้ได้ยังไง ผมก็เข้าค้นเอกสารของพวกนักภาษาศาสตร์ น่าสนใจมาก มีภาษาไร้กาลจำนวนหนึ่ง อยู่ทั่วโลก มีจำนวนหนึ่งอยู่ที่ยุโรปเหนือ และเมื่อเริ่มวิเคราะห์ข้อมูลแล้วล่ะก็ คนที่พูดภาษาไร้กาลทั่วโลกนี้ กลายเป็นว่า โดยมากแล้วอยู่ในกลุ่มคนที่ออมมากที่สุด 

เพื่อให้เห็นภาพ กลับไปดูกราฟโออีซีดีที่เราเคยพูดกัน จะเห็นได้ว่าแท่งพวกนี้สูงกว่า และเอียงไปทางซ้ายมากกว่า เทียบกับแท่งที่แสดงจำนวนสมาชิก ของกลุ่มโออีซีดีที่พูดภาษาบอกกาล ความแตกต่างโดยเฉลี่ยเป็นเท่าไหร่น่ะหรือ 5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีที่ออมได้ในแต่ละปี เอามาเทียบตลอด 25 ปีนั้น ส่งผลต่อความเจริญของประเทศมากนะ ข้อค้นพบเหล่านี้เสนอว่า ประเทศทั้งหลายมีข้อแตกต่างกันในหลายด้าน ยากมากที่จะสรุป และคิดเผื่อข้อแตกต่างทั้งหมดที่เป็นไปได้ 

ผมจะให้คุณดู สิ่งที่ผมทำงานกับมันมากว่าปีได้ คือความพยายามในการรวบรวมชุดข้อมูลใหญ่ทั้งหมด ที่เราเข้าถึงได้ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ และผมจะพยายามตัดทิ้งข้อแตกต่าง ที่เป็นไปได้ทั้งหมด ด้วยหวังจะหาจุดตัดความเชื่อมโยง ระหว่างความสัมพันธ์ ขอสรุปย่อๆ นะว่า ไม่ว่าจะพยายามแค่ไหน ผมก็ทำไม่ได้ ผมจะให้ดูว่าทำได้ถึงแค่ไหน เพื่อให้รู้ว่าผมเก็บข้อมูลชุดใหญ่ จากทั่วโลกเป็นยังไง ยังตัวอย่าง แบบสอบถามโครงการสุขภาพ และการเกษียณในยุโรป ชุดข้อมูลนี้เราจะรู้ว่าครอบครัวคนเกษียณในยุโรป ใจเย็นกับคนที่ไปสอบถามสุดๆ (เสียงหัวเราะ) 

สมมตินะว่าคุณเป็นบ้านที่มีแต่คนเกษียณในเบลเยี่ยม มีคนมาเคาะประตู "ขอโทษนะครับขอผมดูหุ้นคุณได้ไหม พอจะรู้ไหมครับว่าบ้านคุณราคาเท่าไหร่ บอกผมได้ไหม โถงในบ้านคุณยาวมากกว่า 10 เมตรหรือเปล่าครับ ถ้าใช่ จะเป็นไรไหม ถ้าผมขอจับเวลาว่าคุณใช้เวลาเดินนานแค่ไหน ช่วยบีบให้แรงที่สุดได้ไหมครับ ใช้มือข้างถนัดนะครับ เครื่องมือนี้น่ะครับ ผมจะได้วัดแรงบีบคุณได้ ช่วยเบาเครื่องนี้ได้ไหมครับจะได้วัดขนาดปอดถูก ใช้เวลาทั้งวันล่ะครับ (เสียงหัวเราะ) 

เอาผลตรงนั้นรวมกับแบบสำรวจ ด้านสุขภาพและประชากร ที่ยูเอสเอไอดี ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ที่ทวีปแอฟริกา ซึ่งการสำรวจสามารถเก็บข้อมูลที่วัดผลได้เช่น สถานะโรคเอดส์ ของครอบครัวที่อาศัยอยู่ อย่างเช่น ในย่านชนบทของไนจีเรีย รวมกับแบบสำรวมค่าทั่วโลก ที่วัดจากความคิดเห็นด้านการเมือง และโชคดีมากสำหรับผล พฤติกรรมการออม ของกว่าล้านครอบครัวจากหลายร้อยประเทศทั่วโลก เอาข้อมูลทั้งหมดมารวมกัน จะได้ออกมาเป็นแผนที่นี้ คุณจะเห็นว่า 9 ประเทศทั่วโลก ที่มีจำนวนประชากรท้องถิ่น ที่พูดทั้งภาษาที่มีและไม่มีกาล ที่ผมจะทำต่อไปนี้คือสร้างการจับคู่ทางสถิติ ของครอบครัวที่แทบจะเหมือนกัน ในทุกแง่เท่าที่ผมวัดได้ และผมจะดูสิว่ามีหรือไม่มีข้อเชื่อมโยง ระหว่างภาษากับการออม 

แม้ว่าจะตัดปัจจัยอื่นๆ ออกไปแล้ว เราจะดูปัจจัยไหนบ้างนะหรือ ผมจะจับคู่ครอบครัวโดยดูประเทศที่เกิดและอาศัย นัยด้านประชากร...เรื่องพวกเพศ อายุ... ระดับรายได้เทียบกับทั้งประเทศระดับการศึกษา โครงสร้างครอบครัว ผลปรากฏว่าในยุโรป คนเราแต่งงานกันได้ตั้ง 6 แบบแน่ะ และที่ยิบย่อยที่สุด ผมใช้ศาสนามาแยก ซึ่งมีมากกว่า 72 ศาสนาทั่วโลก... ยิบย่อยสุดๆกันเลยล่ะครับ เพราะฉะนั้นมีทางแตกต่างได้ทั้งหมด 1.4 พันล้านทาง ที่ผมจะพูดนับจากจุดนี้ไป คือแค่เปรียบเทียบครอบครัว ที่เหมือนกันแทบทุกอย่างนะครับ แทบจะใกล้เคียงกับการคิดทดลองเล่นๆ หา 2 ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในบรัสเซลล์ ที่เหมือนกันในทุกแง่ทีเดียว แต่ครอบครัวหนึ่งพูดเฟลมมิช แต่อีกครอบครัวหนึ่งพูดฝรั่งเศส หรือ 2 ครอบครัวที่อาศัยในเขตชนบทของไนจีเรีย ครอบครัวหนึ่งพูดฮัวซา อีกครอบครัวหนึ่งพูดอิคโบ ทีนี้ ถึงแม้จะในระดับที่ละเอียดขนาดนี้ คนที่พูดภาษาไร้กาลออมเงินมากกว่าหรือเปล่า คำตอบคือใช่ คนพูดภาษาไร้กาล ถึงแม้จะตัดปัจจัยอื่นออกไป ก็พบว่ามีแนวโน้มออมเงินมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ แล้วส่งผลสืบเนื่องสะสมหรือเปล่า ส่งผลครับ พอถึงเวลาเกษียณ คนที่พูดภาษาไร้กาล ที่มีรายได้สม่ำเสมอ จะเกษียณโดยมีเงินเก็บมากกว่าภาษามีกาล 25 เปอร์เซ็นต์ 

ลองเทียบกับเรื่องอื่นได้ไหม ได้ครับ เพราะอย่างที่บอกไป เราเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ เหมือนกันในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ แล้วจะเทียบพฤติกรรมด้านสุขภาพกับการออมยังไง เช่น การสูบบุหรี่นะครับ การสูบบุหรี่ก็เหมือนพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อการออมถ้าการออมคือเหนื่อยวันนี้ สบายวันหน้า การสูบบุหรี่คือสิ่งตรงกันข้าม มันคือ สบายวันนี้ เหนื่อยวันหน้า สิ่งที่ควรคาดไว้ คือ ผลกระทบที่ตรงกันข้ามกัน ซึ่งก็ตรงกับสิ่งที่เราเจอ คนพูดภาษาไร้กาลจะมีแนวโน้ม 20 - 24 เปอร์เซ็นต์ สูบบุหรี่น้อยกว่าครอบครัวคู่แฝดของตนและพวกเขาจะมีแนวโน้ม 13 - 17 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าที่จะอ้วน เวลาเกษียณ และพวกเขามีแนวโน้ม 21 เปอร์เซ็นต์มากกว่า ที่จะใช้ถุงยางเวลามีเพศสัมพันธ์ 

ผมพูดได้เรื่อยๆนะครับ จากข้อแตกต่างที่หาพบ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะพบพฤติกรรมการออม ที่ไม่มีผลกระทบออกมาแบบนี้ เพื่อนร่วมงานนักภาษาศาสต ร์และเศรษฐศาสตร์ที่เยลกับผมเพิ่งจะเริ่มงานนี้ ลงลึกและทำความเข้าใจวิถีที่ความนัยของภาษา ทำให้เราคิดมากขึ้นหรือน้อยลง เกี่ยวกับอนาคตทุกครั้งที่พูด สุดท้ายแล้ว เป้าหมาย เมื่อเราเข้าใจว่าผลกระทบ จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจเรายังไง เราอยากจะสร้างเครื่องมือให้ผู้คน เพื่อพวกเขาจะได้ทำให้ตนเองออมเงินมากขึ้น และมีสติกับการลงทุนและแรงเพื่ออนาคตของเขา ขอบคุณมากครับ (เสียงปรบมือ)