พลังของความเชื่อที่คุณสามารถเปลี่ยนมันได้ ( แครอล ดเวค )

คำว่า"ยังไม่ผ่าน" ยังทำให้ฉันตระหนักรู้ถึง ช่วงวิกฤตในช่วงเริ่มต้นการทำงานของฉัน จุดเปลี่ยนที่สำคัญในชีวิต ฉันอยากจะเห็น ว่าเด็กๆจะรับมือกับความท้าทาย และความยากลำบากอย่างไร ฉันจึงให้เด็กอายุ 10 ปี ได้เจอกับโจทย์ปัญหาที่ค่อนข้างยากสำหรับพวกเขา เด็กบางคนมีปฏิกริยากลับมาในด้านบวก พวกเขาพูดทำนองว่า "หนูรักความท้าทาย" หรือ "รู้อะไรหรือเปล่า หนูหวังว่านี่จะให้ความรู้มากขึ้น" พวกเขาเข้าใจ ว่าพวกเขาสามารถพัฒนา ความสามารถได้ พวกเขามีสิ่งที่ฉันเรียกว่า กรอบความคิดแบบเปิดกว้าง แต่เด็กนักเรียนคนอื่นๆ รู้สึกว่า มันคือความโศกเศร้า คือหายนะ จากมุมมองของกรอบความคิดที่คับแคบกว่า ซึ่งเป็นแบบปิดกั้นสติปัญญาของพวกเขาถูกปลุกขึ้นมา เพียงเพื่อตัดสินว่าพวกเค้าล้มเหลว แทนที่จะรู้สึกถูกกระตุ้นด้วย พลังของคำว่า"ยัง" พวกเขากลับจมลงไปกับความรู้สึกแย่ๆ กับปัจจุบัน
แล้วพวกเขาทำยังไงต่องั้นหรือ? ฉันจะเล่าให้ฟัง ว่าพวกเขาทำอะไรต่อไป ในการศึกษาวิจัยครั้งหนึ่ง พวกเขาบอกว่า อาจจะลองโกงการสอบในครั้งหน้า แทนที่จะเตรียมตัวให้มากขึ้น ถ้าพวกเขาสอบตก ในการศึกษาวิจัยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่พวกเขาสอบตก พวกเขาจะมองหาใครสักคน ที่ทำคะแนนได้ต่ำกว่าเขา เพื่อที่จะทำให้พวกเขารู้สึกดีกับตัวเอง และในการศึกษาครั้งถัดๆมา พวกเขาก็หนีจากความยากลำบากนั้น นักวิทยาศาตร์ได้ทำการวัดคลื่นไฟฟ้า ในกิจกรรมต่างๆ จากสมอง เมื่อนักเรียนได้เจอกับข้อผิดพลาด ทางซ้ายมือ คุณจะเห็นพลังงานไฟฟ้า ของนักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบปิดกั้น มันแทบจะไม่มีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นเลย พวกเขาหนีจากข้อผิดพลาดนั้น พวกเขาไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับมันเลย แต่ทางด้านขวามือ คือผลจากนักเรียน ที่มีกรอบความคิดแบบเปิดกว้าง ความคิดที่ว่า ความสามารถพัฒนาได้ พวกเขามีส่วนร่วมกับปัญหาอย่างลึกซึ้ง สมองพวกเขาลุกโชนไปด้วยพลังของคำว่า"ยัง" พวกเขาใช้ความคิดอย่างลึกซึ้ง พวกเขาคิดวิเคราะห์ข้อผิดพลาดพวกเขาเรียนรู้จากมัน และแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น
ยังมีวิถีทางอื่นที่จะให้ผลตอบแทนไปสู่"ยัง" ไม่นานมานี้ เราได้ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ ด้านเกมการละเล่นจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เพื่อสร้างเกมคณิตศาสตร์ออนไลน์ ที่ให้ผลตอบแทนกับการคิดว่า 'ยัง' ในเกมนี้ นักเรียนจะได้รับคะแนนสำหรับ ความพยายาม การวางแผน และความก้าวหน้า ในเกมคณิตศาสตร์โดนทั่วไปจะให้คะแนนเมื่อตอบคำตอบที่ถูก ณ ตอนนี้ แต่สำหรับเกมนี้ จะให้คะแนน กับกระบวนการคิด และเราก็ได้ความพยายามที่มากขึ้น การวางแผนที่มากขึ้น การมีส่วนร่วมกับเกมในระยะเวลา ที่ยาวนานขึ้น และความมานะพยายามที่มากขึ้น เมื่อเด็กๆ ได้เจอกับโจทย์ที่ยากมากๆ
ตอนนี้เรามาพูดถึงความเท่าเทียมกันบ้าง ในประเทศของเรา มีกลุ่มนักเรียน ที่มีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น เด็กๆ ที่อยู่ในใจกลางเมือง หรือเด็กที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ ของชาวอเมริกันพื้นเมือง และพวกเค้าได้รับการดูแลที่ไม่ดีพอ และหลายคนก็คิดว่ามันเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ แต่เมื่อนักการศึกษาได้สร้างกรอบความคิด แบบเปิดกว้างในห้องเรียนที่นำไปสู่แนวคิด'ยัง' ความเท่าเทียมจึงเกิดขึ้น และนี่เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อย ในหนึ่งปี ชั้นเรียนอนุบาล ในเมืองฮาร์เล็ม นิวยอร์ค มีคะแนนอยู่ในช่วง 95 เปอร์เซ็นต์ไทล์ ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แห่งชาติ นักเรียนหลายๆคน ไม่สามารถจับดินสอได้ เมื่อไปถึงโรงเรียน ในหนึ่งปีนักเรียนเกรดสี่ในเซาธ์บรองซ์ที่ไกลออกไป กลายเป็นห้องเรียนเกรดสี่ อันดับหนึ่งของนิวยอร์ค ในการแข่งขันคณิตศาสตร์ของรัฐ ในเวลาประมาณหนึ่งปีถึงหนึ่งปีครึ่ง นักเรียนชาวพื้นเมืองอเมริกัน ของโรงเรียนในเขตอนุรักษ์ เปลี่ยนจากอันดับล่างสุดของตำบล เป็นอันดับสูงสุด และตำบลนั้นก็รวมถึงเขตร่ำรวยของซีแอตเทิล ดังนั้นเด็กพื้นเมืองทำได้ดีกว่า เด็กไมโครซอฟท์
(เสียงปรบมือ)