ฝุ่นละออง 21 ล้านตัน ! โลกของเรากำลังจะดีขึ้นหรือแย่ลง ลองมาดูตัวเลขกัน (สตีเฟน พินเคอร์)

ปี ค.ศ. 2017 เป็น "ปีที่แย่ที่สุด" อย่างที่บางคนเชื่อหรือเปล่า ในการวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการฆาตกรรม, สงคราม, ความอดอยาก, มลพิษ และอื่น ๆ นักจิตวิทยา สตีเฟน พินเคอร์ พบว่าเรากำลังทำได้ดีขึ้นในทุก ๆ เรื่อง เมื่อเทียบกับเมื่อ 30 ปีก่อน แต่การดำเนินพัฒนาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองหรือเปล่า และมันไม่ได้หมายความว่าทุก ๆ อย่างจะดีขึ้นสำหรับทุก ๆ คนเสมอไป พินเคอร์บอกว่า แทนที่จะเป็นเช่นนั้น การพัฒนาคือการแก้ปัญหา และเราควรที่จะมองเรื่องอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศและสงครามนิวเคลียร์เป็นปัญหาที่จะต้องได้รับการแก้ไข ไม่ใช่หายนะที่กำลังจะเกิดขึ้น "เราคงไม่มีวันเห็นโลกที่สมบูรณ์แบบ และมันอาจเป็นภัยที่จะทำเช่นนั้น" เขาบอก "แต่เราสามารถที่จะปรับปรุงหนทางสู่เป้าหมายได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดถ้าเรายังคงใช้ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่ออุ้มชูการเบ่งบานของมนุษยชาติ"


หลายคนอ่านข่าวตอนเช้า ด้วยความหวาดกลัวและพรั่นพรึง ทุกวัน เราอ่านเกี่ยวกับการยิงกัน ความไม่เท่าเทียมกัน มลภาวะ เผด็จการ สงคราม และการขยายกำลังอาวุธนิวเคลียร์ นี่เป็นเพียงบางเหตุผล ที่ทำให้ปี ค.ศ. 2016 ได้ฉายาเป็น "ปีที่แย่ที่สุด" จนกระทั่งปี ค.ศ. 2017 มาชิงตำแหน่งนั้นไป --


00:26
(เสียงหัวเราะ)


00:27
และปล่อยให้คนทั้งหลาย คิดถึงทศวรรษที่ผ่านไป เมื่อโลกของเรายังดูสงบสุขกว่านี้ สะอาดกว่านี้ และดูเท่าเทียมกันกว่านี้


00:34
แต่นี่เป็นการทำความเข้าใจ ต่อสถานการณ์ของมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 อย่างถูกต้องหรือเปล่า ดังที่ แฟรงคลิน เพียส อดัมส์ ชี้แจงไว้ว่า "ไม่มีอะไรที่จะทำให้ วันอันแสนสุขน่าปักใจเชื่อ ได้มากเสียยิ่งกว่าความทรงจำแย่ ๆ "


00:46
(เสียงหัวเราะ)


00:49
คุณสามารถหลอกตัวเอง ให้เห็นการถดถอยได้เสมอ ถ้าคุณเปรียบเทียบ พาดหัวข่าวเลือดสาดในปัจจุบัน กับภาพอันแสนหวานในอดีต แล้ววิถีของโลกเรานี้มีหน้าตาเช่นไร เมื่อเราวัดความอยู่ดีกินดีผ่านช่วงกาลเวลา โดยใช้ไม้หลาเดียวกัน


01:05
มาลองเปรียบเทียบข้อมูลล่าสุดในปัจจุบัน กับการวัดเดียวกันเมื่อ 30 ปีก่อนกันนะครับ ปีที่แล้ว ชาวอเมริกันฆ่ากันเอง ในอัตรา 5.3 ต่อแสนคน มีประชากรที่อดอยากเจ็ดเปอร์เซ็นต์ และมีการปล่อยฝุ่นละออง 21 ล้านตัน และซัลเฟอร์ไดออกไซด์สี่ล้านตัน แต่ 30 ปีก่อน อัตราการฆาตกรรม คือ 8.5 ต่อแสนคน อัตราความอดอยากคือ 12 เปอร์เซ็นต์ และเราปล่อยฝุ่นละออง 35 ล้านตัน และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 20 ล้านตัน


01:39
แล้วโลกในภาพรวมล่ะ ปีที่แล้ว โลกของเรามีสงคราม 12 ครั้ง อัตตาธิปไตย 60 ประเทศ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก ตกอยู่ในภาวะอดอยากรุนแรง และมีอาวุธนิวเคลียร์กว่า 10,000 หน่วย แต่ 30 ปีก่อน มีสงคราม 23 ครั้ง อัตตาธิปไตย 85 ประเทศ 37 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก ตกอยู่ในภาวะอดอยากรุนแรง และมีอาวุธนิวเคลียร์กว่า 60,000 หน่วย ก็จริงอยู่ที่ว่า ปีที่แล้วเป็นปีที่เลวร้าย เพราะมันเกิดการก่อการร้ายในยุโรปตะวันตก มีผู้เสียชีวิต 238 คน แต่ปี ค.ศ. 1988 แย่กว่านั้น มีผู้เสียชีวิต 440 คน


02:16
มันเกิดอะไรขึ้น ปี ค.ศ. 1988 เป็นปีที่แย่จริง ๆ หรือว่าการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นนี้ จะเป็นสัญญาณว่า โลกของเราที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมา กำลังค่อย ๆ ดีขึ้น มันชวนให้เรายอมรับ แนวคิดการพัฒนาแบบเก่า ๆ หรือเปล่า เพื่อพิสูจน์ เราจะต้อง นับจำนวนของคนที่หัวเราะเยาะ เพราะผมพบว่า คนฉลาด ๆ เกลียดการพัฒนา


02:41
(เสียงหัวเราะ)


02:42
(เสียงปรบมือ)


02:45
แล้วคนฉลาด ๆ ที่เรียกตัวเอง ว่าเป็นพวกก้าวหน้า ก็เกลียดการพัฒนา


02:49
(เสียงหัวเราะ)


02:50
เอาล่ะครับ ไม่ใช่ว่าพวกเขาเกลียด ผลพวงจากการพัฒนาหรอนะครับ นักวิชาการและบัณฑิต ก็คงจะขอรับการผ่าตัด โดยใช้ยาสลบมากกว่าที่จะไม่ใช้ แต่แนวคิดของการพัฒนานี่เอง ที่ป่วนการสนทนาอภิปราย ถ้าคุณเชื่อว่า มนุษย์สามารถ ยกระดับโชคชะตาของพวกเขาได้ นั่นก็หมายความว่า คุณมีโชคชะตาที่มืดบอด ลัทธิที่คล้ายกับศาสนา มีความเชื่อในลักษณะที่งมงายล้าสมัย และการให้ความหวังผิด ๆ เกี่ยวกับเรื่องเล่าที่ว่า การพัฒนาจะดำเนินไปข้างหน้า อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณคือเชียร์ลีดเดอร์ ของลัทธิทำได้แห่งสามัญอเมริกันชน ที่มีจิตวิญญาณคึกคัก แบบอุดมการณ์ในห้องประชุม ซิลิคอน แวลลี และหอการค้า คุณคือนักกิจกรรมแห่งประวัติศาสตร์ สมาชิกพรรครักชาติ พวกคิดบวกแสนไร้เดียงสา ใสซื่อ แล้วก็โลกสวย แบบที่มีนิสัยโน้มเอียงไปคล้ายกับ วอลแตร์ผู้ประกาศว่า "ทุกอย่างดีที่สุดแล้ว ในภพโลกที่ดีที่สุดทั้งหมดที่จะเป็นไปได้"


03:46
โถ่ พ่อคนซื่อไร้เดียงสา รู้ไหมว่า นี่แหละพวกมองโลกในแง่ร้อย คนที่มองโลกในแง่ดีจริง ๆ เชื่อว่า มันจะยังมีโลกที่ดีกว่านี้ มากกว่าโลกที่เราอยู่ในทุกวันนี้ แต่ทั้งหมดนี้ มันไม่มีความสัมพันธ์กันเลย เพราะว่าคำถามที่ว่า มันเกิดการพัฒนาขึ้นหรือเปล่า มันไม่ใช่เรื่องของโชคชะตา หรือการมีอุปนิสัยเป็นคนมองโลกในแง่บวก หรือเป็นแก้วที่มีน้ำครึ่งแก้ว มันเป็นทฤษฎีที่ทดสอบได้ ในบรรดามนุษย์ที่มีความหลากหลาย เราส่วนใหญ่มักจะเห็นพ้องกันในเรื่อง ที่เกี่ยวกับความกินดีอยู่ดีของมนุษย์ เช่น ชีวิต สุขภาพ ความยั่งยืน ความรุ่งโรจน์ สันติภาพ อิสรภาพ ความปลอดภัย ความรู้ ความสะดวกสบาย และความสุข สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถถูกวัดได้ ถ้าเราทำได้ดีขึ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ผมเชื่อนะครับ ว่านั่นคือการพัฒนา


04:26
ลองไปดูข้อมูลกันครับ เริ่มที่สิ่งที่มีค่าที่สุดก่อน นั่นก็คือชีวิต ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ อายุขัย ที่คาดการณ์ตอนกำเนิดเคยอยู่ที่ประมาณ 30 ปี ทุกวันนี้ มันอยู่ที่ 70 ปี ทั่วโลก และในภูมิภาคที่ได้รับการพัฒนาแล้ว อายุขัยสูงกว่า 80 ปี 250 ปีก่อน ในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เด็กหนึ่งในสามมีชีวิตอยู่ไม่ถึงขวบปีที่ห้า ก่อนที่ความเสี่ยงดังกล่าว จะลดลงมาเป็นร้อยเท่า ทุกวันนี้ เด็กที่ต้องเผชิญชะตากรรมนั้น เหลืออยู่น้อยกว่าหกเปอร์เซ็นต์ ในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ภาวะข้าวยากหมากแพง เป็นหนึ่งในจตุรอาชาแห่งวันสิ้นโลก มันจะนำมาซึ่งการทำลายล้าง ไม่ว่าจะในภาคส่วนใดของโลก ทุกวันนี้ ภาวะดังกล่าวได้ถูกขจัดทิ้งไป คงเหลืออยู่แต่ในบริเวณที่แสนห่างไกล ที่ยังได้รับภัยสงคราม 200 ปีก่อน 90 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรโลก ดำรงอยู่ในภาวะอดอยากรุนแรง ทุกวันนี้ เหลือคนที่เผชิญกับมัน อยู่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ รัฐที่ทรงอำนาจและจักรวรรดิ์ทั้งหลาย มักจะก่อสงครามรบพุ่งกัน และสันติภาพก็เป็นเพียง ช่วงเปลี่ยนผ่านระยะสั้น ๆ ระหว่างสงคราม ทุกวันนี้ เราแทบจะไม่ได้ทำสงครามกัน สงครามครั้งใหญ่ล่าสุด นำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีนเมื่อ 65 ปีก่อน ส่วนในช่วงหลัง ๆ มานี้ สงครามต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นน้อยลงและมีความรุนแรงน้อยลง อัตราการตายในสงครามลดลงจากประมาณ 22 ต่อหมื่นคนต่อปี ในช่วงต้นทศวรรษที่ 50 ถึง 1.2 ในวันนี้ เห็นได้ชัดว่าประชาธิปไตยนั้นถดถอย ในเวเนซูเอล่า รัสเซีย และตุรกี และถูกคุกคามโดยความนิยม แนวทางเผด็จการที่ผุดขึ้นให้เห็น ในยุโรปตะวันออกและสหรัฐอเมริกา แต่ถึงอย่างนั้น โลกของเราก็ไม่เคย ที่จะมีความเป็นประชาธิปไตย ไปมากกว่าที่มันเคยเป็น เมื่อเทียบกับเมื่อทศวรรษก่อน สองในสามของคนบนโลก อยู่ในสังคมประชาธิปไตย อัตราการฆาตกรรมดิ่งตัวลดลง เมื่อใดก็ตามที่อนาธิปไตยและการทะเลาะเบาแว้ง ถูกแทนที่โดยกฎหมาย มันเกิดขึ้นเมื่อระบบศักดินาในยุโรปถูกควบคุม ด้วยการรวบอำนาจเข้าส่วนกลางโดยราชอาณาจักร ทุกวันนี้ ในยุโรปตะวันตก จึงมีโอกาสที่เราจะถูกฆาตกรรม 1/35 เมื่อเปรียบเทียบกับบรรพบุรุษ ในช่วงยุคกลางของเรา มันเกิดขึ้นอีกครั้งในนิวอิงแลนด์ สมัยล่าอาณานิคม ด้านแถบตะวันตกของอเมริกา เมื่อนายอำเภอย้ายเข้าสู่เมือง และในเม็กซิโก


06:38
แน่นอนว่า เราปลอดภัยกว่าเดิม ในทุก ๆ ด้าน ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา เรามีความเสี่ยงน้อยลงถึง 96 เปอร์เซ็นต์ ที่จะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดนเฉี่ยวชนบนทางเท้า น้อยลงถึง 88 เปอร์เซ็นต์ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก น้อยลง 99 เปอร์เซ็นต์ เสียชีวิตในหน้าที่การงาน น้อยลง 95 เปอร์เซ็นต์ เสียชีวิตจากฝีพระหัตถ์ของพระเจ้า น้อยลง 89 เปอร์เซ็นต์ ยกตัวอย่างเช่น จากความแห้งแล้ง วาตภัย อุทกภัย ไฟป่า พายุ ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินไหล หรืออุกาบาตชนโลก ก็เดาได้ว่าไม่น่าจะเป็นเพราะ พระเจ้าทรงเคืองโกรธเราน้อยลง แต่น่าจะเป็นเพราะการพัฒนาความสามารถ ในการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานของเรา แล้วการกระทำอันหลีกเลี่ยงไม่ได้จากพระเจ้า อำนาจที่แผลงจากหัตถ์แห่งเทพเจ้าเซอุสล่ะ ครับ มันเป็นไปได้น้อยลง 97 เปอร์เซ็นต์


07:31
ก่อนศตวรรษที่ 17 มีชาวยุโรปไม่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ที่อ่านหรือเขียนได้ ยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีอัตราการรู้หนังสือในระดับสากล ตอนกลางศตวรรษที่ 20 และประเทศอื่น ๆ ในโลกก็ตามมา ในปัจจุบัน ประชากรโลก มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี สามารถอ่านและเขียนได้ ในศตวรรษที่ 19 ชาวตะวันตก ทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทุกวันนี้ พวกเราทำงานน้อยกว่า 40 ชั่วโมง ต้องขอบคุณการประปาและไฟฟ้า ที่กระจายไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง ในประเทศที่กำลังพัฒนา และการใช้เครื่องซักผ้า และเครื่องดูดฝุ่น ตู้เย็น เครื่องล้านจาน เตา และเครื่องไมโครเวฟมากขึ้น เวลาในชีวิตของเราที่ต้องเสียไป กับการจัดการบ้านเรือน ลดลงจาก 60 ชั่วโมง ถึงน้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์


08:20
สุขภาพ ความมั่งคั่ง ความปลอดภัย ความรู้ และความสะดวกสบายที่ดีขึ้นนี้ ทำให้เรามีความสุขขึ้นหรือเปล่า คำตอบก็คือใช่ครับ ประเทศต่าง ๆ 86 เปอร์เซ็นต์ มีความสุขมากขึ้นกว่าทศวรรษที่ผ่านมา


08:33
ครับ ผมหวังว่าจะสามารถโน้มน้าวคุณได้ว่า การพัฒนาไม่ได้เป็นเรื่องของโชคชะตา หรือการมองโลกในแง่ดี แต่มันเป็นความจริงทางประวัติศาสตร์ของเรา แน่ล่ะว่า เป็นข้อเท็จจริงที่ยิ่งใหญ่ ทางประวัติศาสตร์ของเรา และข้อเท็จจริงนี้กลายมาเป็น หัวข้อข่าวแบบที่เราเห็นได้อย่างไรกัน


08:47
(เสียงหัวเราะ)


08:51
การจัดจำแนกคำที่แสดงอารมณ์เชิงบวกและลบ ในเรื่องราวข่าวสาร ได้แสดงว่าระหว่างหลายทศวรรษ ซึ่งมนุษย์ชาติมีสุขภาพดีขึ้น มั่งคั่งมากขึ้น ฉลาดขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และมีความสุขมากขึ้น "นิวยอร์ค ไทม์ส" ก็อารมณ์ขุ่นมัวขึ้นเรื่อย ๆ และสำนักข่าวต่าง ๆ ก็แสดงอามรณ์หดหู่อยู่เรื่อย ๆ เช่นกัน


09:10
ทำไมเราถึงไม่เป็นปลื้มกับการพัฒนาล่ะ คำตอบส่วนหนึ่งมาจาก จิตวิทยาด้านการรับรู้ของเรา เราคาดการณ์ความเสี่ยงโดยใช้ทางลัด ที่เรียกว่า "การพร้อมใช้เชิงสำนึก" ยิ่งเราเรียกมันออกมาความทรงจำ ได้ง่ายเท่าไร ก็ยิ่งเป็นไปได้ว่า เราจะยิ่งตัดสินมันมากเท่านั้น ส่วนอื่น ๆ ของคำตอบ มาจากธรรมชาติของสื่อสารมวลชน ลองดูหัวข้อข่าวเสียดสี จาก "ดิ ออเนียน" "CNN จัดการประชุมยามเช้าเพื่อจะตัดสินใจว่า ผู้ชมควรที่จะประสาทเสีย ไปกับเรื่องอะไรไปทั้งวันดี"


09:38
(เสียงหัวเราะ)


09:40
(เสียงปรบมือ)


09:45
ข่าวคือเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่เรื่องราวที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น คุณจะไม่เคยได้ยินนักข่าวพูดว่า "ผมกำลังรายงานสดจากประเทศ ที่มีสันติภาพมาเป็นเวลา 40 ปี" หรือเมืองที่ผู้ก่อการร้ายไม่ได้โจมตี นอกจากนี้ เรื่องแย่ ๆ สามารถที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่เรื่องดี ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นได้ ภายในวันเดียว หนังสือพิมพ์ต่าง ๆ จะพาดหัวว่า "วานนี้ คนราว 137,000 คน ได้หลุดพ้นจากความอดอย่างรุนแรง" ทุก ๆ วันเป็นเวลา 25 ปีก็ได้ คนสองร้อยห้าสิบล้านคน ห่างไกลจากความอดอยาก แต่คุณไม่เคยได้อ่านเกี่ยวกับมันเลย นอกจากนี้ ข่าวยังหาประโยชน์ จากความสนใจที่ผิดปกติของเรา ในสิ่งที่อาจทำให้เข้าใจผิดได้ อย่างในนโยบายการวางแผนงาน "ถ้ามันเจ็บ คือมันได้ผล" ครับ ถ้าคุณรวมอคติเชิงความคิดของเรา เข้ากับธรรมชาติของข่าว คุณจะเห็นว่าทำไมโลกถึงได้มาถึงจุดจบ มาเป็นเวลานานแสนนานแล้ว


10:38
ให้ผมได้ย้ำถึงคำถามบางอย่าง เกี่ยวกับการพัฒนา ที่หลาย ๆ คนอาจสงสัยแน่ ๆ ประการแรก มันไม่ดีหรือ ที่เราจะมองโลกในแง่ร้าย เพื่อที่จะป้องกันการหลงระเริง เพื่อสางแยกเรื่องไร้สาระ เพื่อพูดความจริงกับผู้ที่มีอำนาจ ไม่ใช่แบบนั้นเสียทีเดียวนะครับ อะไรที่ตรงไปตรงมาก็ดีล่ะครับ แต่ล่ะว่าเราควรที่จะตระหนัก ถึงความทุกข์และอันตราย ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นที่ไหน แต่เราก็ควรที่จะตระหนักด้วยว่า เราจะทำให้มันน้อยลงได้อย่างไร เพราะว่าการมองโลกในแง่ร้าย อย่างไม่แยกแยะนั้นเป็นอันตราย หนึ่งในนั้นก็คือการปลงกับชะตา ถ้าความพยายามทั้งหลายของเรา ในการพัฒนาโลก ได้เสียเปล่าไปเสียแล้ว ทำไมยังจะทุ่มเงินให้กับเรื่องร้าย ๆ อีก ความยากจนยังคงอยู่กับเราเสมอ และในเมื่อโลกของเราก็จะดับสิ้นกันอยู่แล้ว ถ้าการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ไม่ได้ฆ่าพวกเราเสียก่อน ปัญญาประดิษฐ์ที่แหกกฎก็คงฆ่าเราแน่ ที่เราจะทำก็คงเป็นการใช้ชีวิตอย่างสำราญ ในขณะที่เรายังทำได้ กิน ดื่ม และสุขสันต์ เพราะเดี๋ยวพรุ่งนี้เราก็ตาย


11:30
อันตรายอีกอย่างของการมองโลกในแง่ร้าย อย่างไม่ตรึกตรองคือการใช้หลักการสุดโต่ง ถ้าสถาบันธรรมเนียมต่าง ๆ ของเราล่มสลาย และมันคาดว่ามันเกินกว่าที่จะปฎิรูปได้ ที่เราจะทำก็คงจะป็นการทำลายจักรกล ถ่ายน้ำออกจากบึง เผาจักรวรรดิ์ให้วอดวาย โดยหวังว่าอะไรก็ตาม ที่จะเกิดใหม่จากเถ้าถ่าน น่าจะดีกว่าสิ่งที่เรามีอยู่ในตอนนี้


11:51
เอาล่ะครับ ถ้าจะมีอะไรก็ตาม ที่เป็นการพัฒนา มันเกิดจากอะไรกัน การพัฒนาไม่ได้เป็นพลังลึกลับสักอย่าง หรือการโต้แย้งด้วยเหตุผลที่ยกระดับเราให้สูงขึ้น มันไม่ใช่ส่วนเชื่อมปริศนาแห่งประวัติศาสตร์ ที่โน้มเข้าหาความยุติธรรม มันคือผลลัพธ์ของจากหยาดเหงื่อของมนุษย์ ที่ถูกกำกับโดยแนวคิด แนวคิดที่เราเชื่อมโยงมัน เข้ากับยุคเรืองปัญญาในศตวรรษที่ 18 ที่กล่าวว่า ถ้าเราใช้เหตุผลและวิทยาศาสตร์ ที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ เราสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้ ที่ละเล็กทีละน้อย การพัฒนาเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วใช่ไหม ไม่จริงครับ การพัฒนาไม่ได้มีความหมายว่า ทุก ๆ อย่างกำลังจะดีขึ้น สำหรับทุกคนในทุกหนแห่งเสมอไป นั่นคงเป็นปาฏิหารย์ทีเดียว และการพัฒนาก็ไม่ใช่ปาฏิหารย์ แต่เป็นการแก้ปัญหา ปัญหานี่แหละที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และการแก้ปัญหาก็จะสร้างปัญหาขึ้นใหม่ ซึ่งเราก็จะต้องหาทางแก้พวกมันอีก ปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข ที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่นี้ยิ่งใหญ่นัก ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ และสงครามนิวเคลียร์ แต่เราจะต้องมองว่า มันเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข ไม่ใช่หายนะที่กำลังคืบคลานเข้ามา และพยายามอย่างไม่ลดละเพื่อแก้ปัญหาให้จงได้ เช่น โครงการดีพ ดีคาร์บอไนเซชัน เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ และโครงการโกลโบล ซีโร เพื่อแก้ปัญหาสงครามนิวเคลียร์


13:03
ท้ายที่สุด การเรืองปัญญา เป็นอะไรที่ สวนทางกับธรรมชาติของมนุษย์หรือเปล่า นี่เป็นคำถามที่สำคัญสำหรับผม เพราะว่าผมเป็นตัวแทนที่เด่นชัด ของการมีอยู่ตามธรรมชาติของมนุษย์ ที่เต็มไปด้วยจุดด้อย และความผิดปกติทั้งหลาย ในหนังสือของผม "เดอะ แบลงค์ สเลต" ผมแย้งว่าสิ่งที่มนุษย์คาดการณ์กันนั้น เป็นเรื่องทุกข์มากกว่าเรื่องสุขสันติ์ เราไม่ได้เป็นละอองดาว เราไม่ได้วิเศษวิโส และคงไม่มีทาง ที่เราจะกลับสู่สวนของพระเจ้าได้


13:27
(เสียงหัวเราะ)


13:30
แต่มุมมองที่ผมมีต่อโลกสดใสมากขึ้น หลังจากที่ตีพิมพ์ "เดอะ แบลงค์ สเลต" ไปแล้ว 15 ปี ความคุ้นเคยที่ผมมีต่อสถิติ ของการพัฒนาของมนุษย์ เริ่มจากความรุนแรง แต่ตอนนี้การรวมแง่มุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดี ได้เพิ่มความมั่นใจให้ผมว่า ในการทำความเข้าใจต่อ ความทุกข์เข็ญและความสลดหดหู่นั้น ธรรมชาติของมนุษย์นี่เองที่เป็นปัญหา แต่ธรรมชาติของมนุษย์ที่ถูกชักนำด้วยแนวคิด ด้านการเรืองปัญญาและธรรมเนียมนี่แหละ ที่เป็นทางแก้ปัญหา


13:57
ต้องยอมรับว่า นิมิตหมายที่ดี ที่ได้รับการยืนยันจากข้อมูลของผม จะได้รับการยอมรับในวงกว้างในสังคม ปัญญาชนส่วนหนึ่งตอบรับหนังสือของผม ที่มีชื่อว่า "เอนไลท์เมนต์ นาว" ด้วยความฉุนเฉียว อย่างแรกเลย พวกเขาบอกว่า ผมกล้าดีอย่างไร ที่อ้างว่าปัญญาชนเกลียดการพัฒนา แล้วอย่างที่สอง ผมกล้าดีอย่างไร ที่บอกว่าการพัฒนาได้เกิดขึ้นแล้ว


14:16
(เสียงหัวเราะ)


14:20
สำหรับคนจำพวกอื่น แนวคิดเรื่องการพัฒนา ทำให้พวกเขารู้สึกเซ็ง ช่วยชีวิตคนกว่าพันล้าน กำจัดโรค เลี้ยงปากท้องผู้คน สอนให้เด็ก ๆ อ่านหนังสือ น่าเบื่อสุด ๆ


14:32
ในเวลาเดียวกัน การตอบสนองที่ผมได้รับบ่อย ๆ จากผู้อ่านก็คือความรู้สึกขอบคุณ ขอบคุณสำหรับที่ช่วยเปลี่ยนแปลง แนวคิดของพวกเขาที่มีต่อโลก จากที่เฉยเมยเย็นชาและคิดว่า มันเป็นชะตากรรมที่หมดหวัง เป็นแนวคิดในทางสร้างสรรค์ แบบแนวคิดกู้โลก


14:45
ผมเชื่อว่าการเรืองปัญญาในอุดมคติ สามารถที่จะทำนายเหตุการณ์ที่ไม่ชัดเจนได้ และผมหวังว่าคนที่มีแววศิลปิน ที่เจิดจรัสยิ่งกว่าผม และมีอำนาจทางวาทศิลป์มากกว่าผม จะสามารถเล่าเรื่องนี้ได้ดีกว่า และทำให้มันขยายไปได้ไกลกว่า มันจะเป็นอะไรประมาณนี้


15:00
เราถือกำเนิดในจักรวาลที่แสนโหดร้าย เผชิญหน้ากับสถานการณ์พลิกผัน ที่ส่งผลต่อพื้นฐานการใช้ชีวิต และในภยันตรายร้ายแรงที่ถาโถมเข้ามา เราถูกหล่อหลอมโดยกรรมวิธี แห่งการแข่งขันอันโหดร้าย เราถูกสร้างขึ้นจากท่อนไม้ที่บิดงอ มัวเมาเขลาในมายา เห็นแก่ได้เห็นแก่ตัว และบางครั้งก็โง่เง่าจนน่าประหลาดใจ


15:21
ถึงกระนั้นธรรมชาติของมนุษย์ ก็ยังได้รับพรแห่งปฏิภาน ที่เปิดพื้นที่ให้ได้มีการชดเชย เรามีศักยภาพอันทรงพลัง ในการผนวกความคิดเชิงย้อนกลับ เพื่อที่เราจะได้คิดเกี่ยวกับความคิดของเรา เรามีสัญชาตญาณทางภาษา ที่ทำให้เราได้แบ่งปันผลลัพธ์ แห่งความฉลาดเฉลียวและประสบการณ์ เรามีโอกาสมากมาย ที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจ ที่จะสงสาร จินตนาการ เวทนา สังเวช ศักยภาพเหล่านี้ได้พบกับหนทาง ที่จะขยายอำนาจของมันเอง กรอบทางภาษาได้รับการแต่งเติม โดยการเขียน การพิมพ์ และคำจากโลกอิเล็กทรอนิก วงล้อมแห่งความเห็นใจของเรา ได้ถูกขยายออกไป ด้วยประวัติศาสตร์ สื่อสารมวลชน และศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราว และสติปัญญาอันน้อยนิดของเรา ได้ถูกเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ โดยแนวคิดและธรรมเนียมแห่งเหตุผล ความสงสัยใคร่รู้แบบปัญญาชน การอภิปรายกันอย่างเปิดเผย ความกังขาที่มีต่อผู้มีอำนาจและกฎเกณฑ์ และหลักฐานที่จะใช้เพื่อรอบรับแนวคิด โดยการนำพวกมันมาเทียบเคียงกับความจริง


16:20
เมื่อพลวัตรแห่งการพัฒนาเชิงการทำซ้ำ ค่อย ๆ เพิ่มแรงเคลื่อนขึ้น เราใช้ชัยชนะชดเชยพลังที่บดขยี้เรา โดยเฉพาะ ส่วนที่มืดที่สุด ของธรรมชาติของเรา เราขยายความเข้าใจสู่ปริศนาแห่งจักรวาล ที่รวมถึงชีวิตและจิตใจ เรามีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น เจ็บป่วยน้อยลง เรียนรู้มากขึ้น ฉลาดขึ้น และได้บันเทิงใจ กับความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ และประสบการณ์ที่เข้มข้น พวกเราถูกฆ่า ล่วงเกิน กักขัง เอาเปรียบ หรือถูกกดขี่โดยผู้อื่นน้อยลง จากเกาะแก่งแห่งความเจริญไม่กี่แห่ง อาณาเขตแห่งสันติภาพและความสมบูรณ์ก็งอกงาม และวันหนึ่งมันอาจครอบคลุมไปทั่วโลก แม้ความทุกข์เข็ญมากมาย และภยันตรายต่าง ๆ ยังคงเหลืออยู่ แต่แนวคิดในการกำจัดพวกมัน ได้ถูกส่งต่อออกไป และยังมีแนวคิดอื่นอีกมากมาย ที่กำลังบ่มเพาะอยู่


17:10
เราคงไม่มีวันเห็นโลกที่สมบูรณ์แบบ และมันอาจเป็นภัยที่จะทำเช่นนั้น แต่เราสามารถที่จะปรับปรุงหนทาง สู่เป้าหมายได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าเรายังคงใช้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่ออุ้มชูการเบ่งบานของมนุษยชาติ เรื่องการกู้โลกนี้ ไม่ได้เป็นเพียงนิทานปรัมปรา นิทานปรัมปราเป็นเพียงนิยาย แต่เรื่องของเรานี้คือเรื่องจริง จริงบนพื้นฐานความรู้ที่ดีที่สุดที่เรามี ซึ่งเป็นเพียงความจริงเดียวที่เรามี เมื่อเราได้เรียนรู้มากขึ้น เราสามารถที่จะแสดงได้ว่าส่วนใดของเรื่องนี้ ที่จะยังเป็นความจริงและส่วนไหนที่เป็นเท็จ ส่วนใดของมันที่อาจจะเป็น และส่วนใดที่น่าจะเป็น


17:42
นี่ไม่ได้เป็นเรื่องราว ที่เป็นของเหล่าเผ่าใดอย่างจำเพาะ แต่เป็นของมนุษยชาติทุกหมู่เหล่า มันเป็นของของสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก ที่มีเหตุผลเป็นอาวุธ และมีสัญชาตญาณ เป็นความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการอยู่รอด เพราะเรานั้นต้องการเพียงการโน้มน้าวที่ว่า ชีวิตนั้นดีกว่าความตาย สุขภาพพลานามัยที่ดีนั้นดีกว่าความเจ็บไข้ ความอุดมสมบูรณ์นั้นดีกว่าความรู้สึกขาดหาย อิสระภาพนั้นดีกว่าการบีบบังคับ ความสุขนั้นดีกว่าความทุกข์ทรมาน และความรู้นั้นก็ดีกว่า อวิชชา และความงมงาย


18:10
ขอบคุณครับ


18:11
(เสียงปรบมือ)

( Credit ข้อมูล : YouTube.com , Ted.com )